วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562

ข้าวเม่าหมี่ของดีชุมชนตรอกข้าวเม่า

วิถีชีวิตชาวบ้านข้าวเม่า

       ชุมชนตรอกข้าวเม่าหรือบ้านข้าวเม่าถือเป็นชุมชนดั้งเดิม ซึ่งเป็นกลุ่มชาวมอญอพยพมาจากอยุธยาตั้งรกรากตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีและได้นำการทำข้าวเม่าหมี่มาเป็นอาชีพหลัก เพราะในย่านนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีบรรดาศักดิ์ข้าหลวงเดิมเพราะมีบ้านเรือนอยู่ใกล้พระราชวังเดิมในอดีตสภาพชุมชนเป็นสวนผลไม้นานาชนิด เช่น ละมุด มังคุด มะม่วง และทุเรียน การคมนาคมใช้ทางน้ำเป็นหลัก สามารถพายเรือจากเส้นทางคลองบางกอกน้อยไปคลองบางขุนศรี ออกคลองบ้านขมิ้นได้เดินทางไปวัดยางสุทธาราม วัดดงมูลเหล็ก วัดอัมพวาในด้านการค้าขายก็นิยมนำผลไม้ไปขายที่ตลาดท่าเตียนหรือบ้างก็หาบไปข้ามเรือที่ท่าหวังหลังหรือท่ายายโกย ชุมชนแห่งนี้เกือบทุกหลังคาเรือนจะตำข้าวเม่าโดยมีข้าวเปลือกมาจากจังหวัดสุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง ชัยนาท และนครชัยศรี จะนำข้าวเปลือกมาทางเรือ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของชุมชนแห่งนี้จึงเรียกกันว่า ” บ้านข้าวเม่า “ ภายหลังบ้านเมืองเจริญขึ้นมีการตัดถนนพรานนก ถนนอิสรภาพ การคมนาคมทางน้ำจึงลดบทบาทลง การตำข้าวเม่าซึ่งต้องอาศัยน้ำคลองเป็นหลักในการแช่ข้าว ล้างข้าวและวิธีการยุ่งยากในปัจจุบันจึงค่อยๆหมดไปจะเป็นการนำข้าวเม่าสำเร็จรูปมาทำแทน


พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่า

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ในวัดสุทธาวาส ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๕๔ โดยความร่วมมือของเจ้าอาวาสวัดสุทธาวาส ประชาคมตรอกข้าวเม่าและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ที่เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของย่านนี้ จึงได้ร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่เก็บของบริเวณชั้นล่างของศาลาการเปรียญให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมเรื่องราวและสิ่งของภายในท้องถิ่นจัดแสดงเป็นนิทรรศการ โดยการเชื่อมโยงกับข้อมูลประวัติศาสตร์มรดกทางวัฒนธรรมที่รวมทั้งแหล่งภูมิปัญญา วัฒนธรรมการทำอาหาร งานช่างฝีมือและเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหลากหลายมิติที่ถูกผนวกไว้ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้และจะมีการสาธิตข้าวเม่าหมี่ในช่วงเทศกาลที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ด้วย





การออกแบบผลิตภัณฑ์และโลโก้ให้กับชุมชนตรอกข้าวเม่า

ชุมชนตรอกข้าวเม่า เขตบางกอกน้อย แขวงศิริราช กรุงเทพมหานคร มีผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้แก่ชุมชน คือ ผลิตภัณฑ์ข้าวเม่า ซึ่งผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าต้องมีเป็นสินค้าของุมชนดังนั้นจึงต้องมีโลโก้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าในชุมชนประเภทนี้ คืออะไร สามารเถทำให้ผู้บริโภคเข้าใจ และสินค้าเกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ในส่วนของโลโก้ ผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าแบบเดิม นักศึกษาได้มีการออกแบบโลโก้ที่ มีจุดเด่นมากกว่าเดิน คือ การออกแบบโลโก้ให้มีความน่าสนใจและชัดเจนยิ่งขึ้น คือการเพิ่ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ชัดเจน สามารถติดต่อกับผู้ผลิตสินค้าได้โดยตรงและนักศึกษายังสามมารถออกแบบช่องทางการติดต่อจากจุดเด่นเดิม โดยใช้วิธีการเพิ่มคิวอาร์โค้ด ให้สามารถติดต่อกับผู้ผลิตสินค้าได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งการเพิ่มช่องทางในการติดต่อสินค้า และเกิดความทันสมัยมากยิ่งขึ้น




วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562

เส้นทางของฝากของดี ของเขตบางกอกน้อย


แผนที่ของฝาก เขตบางกอกน้อย



รายละเอียดในการเดินทาง

ร้านผลไม้นายสุง (ถนนบางขุนนนท์-แขวงบางขุนนนท์) รถสองแถวผ่านทุกสายจากแยกบางขุนนนท์

ข้าวเม่าหมี่ (ชุมชนตรอกข้าวเม่า-แขวงบ้านช่างหล่อ) รถสองแถวที่ผ่าน สีแดงเขียว,สีแดงขาว (ไปศิริราช)

บ้านบุคลอเล็กชั่น (ชุมชนบ้านบุ-แขวงศิริราช) รถสองแถวที่ผ่าน สีแดงเขียว,สีแดงขาว (ไปศิริราช)

บ้านลูกชุบ ZN (ถนน อรุณอมรินทร์-แขวงอรุณอมรินทร์) รถเมย์สายที่ผ่านพาต้าปิ่นเกล้า และเดินข้ามสะพานลอย


ผ้าคาดโต๊ะใยกัญชง (ถนนจรัญสนิทวงศ์-แขวงบางขุนศรี) รถเมล์ที่ผ่านสาย56,108,40,42,80,509

รายละเอียดของฝากแต่ละแขวงในเขตบางกอกน้อย

บางขุนนนท์ “ผลไม้นายสุง” ร้านผลไม้แช่อิ่มบางขุนนนท์ หมักและเฉาะเองร่วม 50 ปี พูดถึงผลไม้แช่อิ่มบางขุนนท์คงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ไปโดนร้านนี้ “ผลไม้นายสุง" ร้านที่ขายทั้งผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ดอง และผลไม้อบแห้ง ที่อาแปะสุงลงแรงเองกับมือทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกผลไม้ คิดสูตรหมักและดองเอง ตลอดไปจนถึงการเฉาะผลไม้ขายกันสดๆ 



บ้านช่างหล่อ “ข้าวเม่าหมี่” แหล่งเรียนรู้หนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่บริเวณย่านบางกอกน้อย คือ ชุมชนตรอกข้าวเม่า หรือ บ้านข้าวเม่า ชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า บ้านสวน เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ควบคู่ไปกับการทำข้าวเม่ากันเกือบทุกหลังคาเรือน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ากันว่า คนในชุมชนนี้เดิมอพยพมาจากอยุธยาตั้งแต่สมัยธนบุรี เมื่อย้ายมาแล้วก็ยังยึดอาชีพดั้งเดิมคือ การขายข้าวเม่าที่ปรุงเอง จึงเป็นที่มาของชื่อชุมชน และมีผลิตภัณฑ์คือข้าวเม่าหมี่ ข้าวเม่าคลุก และกระยาสารท



แขวงศิริราช “เครื่องทองลงหิน (BRONZE WARE )” มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน และนำเข้ามาในประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นการนำดีบุก และทองแดงผสมกันแล้วหลอมเป็นเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ พร้อมกับแกะสลักตกแต่งด้วยลวดลายที่สวยงาม ประณีต ไม่ว่าจะเป็นช้อน ทัพพี มีด ส้อม ที่คีบน้ำแข็ง หรือแม้แต่ของที่ระลึกสำหรับไว้แจกในโอกาสวาระต่างๆ อาทิ ที่เปิดขวด พวงกุญแจ หรือแม้กระทั่งพระพุทธรูปและงานศิลปะวิทยาการต่างๆ ล้วนทำมาจากงานหัตถกรรมทองลงหินทั้งนั้น แหล่งผลิตงานหัตถกรรมเครื่องทองลงหินในปัจจุบัน พบว่าจำนวนผู้ผลิตเหลือน้อยราย อีกทั้งเป็นการผลิตในอุตสาหกรรมครัวเรือน เพราะถูกสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ


แขวงอรุณอมรินทร์ “ลูกชุบ” คุณแม่เริ่มทำขนมลูกชุบขายตั้งแต่ปี 1977 โดยทำเป็นอาชีพเสริมของครอบครัวจุดเด่นของขนมเราอยู่ที่ต้องทั้งสวยและทั้งอร่อยต่อมาคุณแม่ส่งมอบกิจการให้ลูกสาวดำเนินการต่อ ขนมของเราจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ลูกชุบZN”ซึ่งมีที่มาจากชื่อย่อของทั้งคุณแม่และคุณลูกนั่นเองวันนี้ขนมลูกชุบ ของเราเป็นที่รู้จักในนาม “บ้านลูกชุบ ZN”ที่มีรูปแบบและบรรจุภัณฑ์หลากหลายทั้งยังคง คุณค่าของความสวยงามและอร่อยแบบไทยๆเหมาะเป็นของฝากที่ประทับใจทั้งผู้ให้และผู้รับ


บางขุนศรี “ผ้าคาดโต๊ะใยกัญชง” เนื่องจากกลุ่มแม่บ้านนั้นมีผลิตภัณฑ์หลักคือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่มจากผ้าใยกัญเส้นใยกัญชงมีจุดเด่นในเรื่องความแข็งแรง ทนทาน ขณะเดียวกันก็มีความยืดหยุ่น สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มได้แข็งแรงกว่าฝ้าย ดูดซับความชื้นได้ดีกว่าไนลอน ให้ความอบอุ่นได้มากกว่าลินิน สีติดคงทนกว่าผ้าฝ้าย ป้องกันรังสียูวี สามารถทนความร้อนได้ถึง 170 องศาเซลเซียส และคุณลักษณะโครงสร้างของเส้นใยกัญชงยังสามารถนำไปผลิตเนื้อผ้าที่บางได้เท่าที่ต้องการ จากคุณสมบัติต่างๆ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเส้นใยกัญชงมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สวมใส่เย็นสบายในหน้าร้อน ขณะเดียวกันก็ให้ความอบอุ่นในหน้าหนาว ส่งผลให้ผ้าที่ทอจากเส้นใยกัญชงจะมีราคาสูงแต่ก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในยุโรป อเมริกา รวมถึงภูมิภาคอื่นๆ ที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นเวลานาน ซึ่งปัจจุบัน แบรนด์สินค้าชั้นนำของโลกได้มีการนำเส้นใยกัญชงไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้ว เช่น ผลิตภัณฑ์รองเท้าจากแบรนด์ไนกี้ (Nike) อดิดาส (Adidas) หลุยส์ วิตตอง (Louis Vuitton) รวมถึงกระเป๋าจากแบรนด์เฟนดิ (Fendi)


เส้นทางอาหารย่านบางขุนนนท์


แผนที่เส้นทางอาหารย่านบางขุนนนท์


รายละเอียดในการเดินทาง

รถประจำทาง

- สาย 57 ผ่าน ถ.บางขุนนนท์

- สาย 79 ผ่าน ถ.บางขุนนนท์

- รถโดยสารสองแถว สีแดงขาว,สีแดงเขียว,สีฟ้า

- สาย 108, 171, 175, 40, 509,542,56,68, 80  ผ่าน ถ.จรัญสนิทวงศ์และถ.บางขุนนนท์
  โดยต่อรถโดยสารสองแถว

 ที่จอดรถ

- ริมถนนบางขุนนนท์ทั้งสองฝั่งข้างทาง

ระหว่างเวลา 09.00-15.00 น.

*ระวังอย่าจอดบนเส้นแนวแดง-ขาว หรือทางม้าลาย

- แม็คโคร จรัญสนิทวงศ์ และนั่งรถสองแถวเข้ามา

- วัดเจ้าอามและนั่งรถสองแถวย้อนกลับมา 

รายละเอียดของร้านในย่านบางขุนนนท์

1. ร้าน ฮกซ้วง ข้าวมันไก่                                           

เวลาเปิด-ปิด ทุกวัน 08:30 - 19:00 น.

เมนูแนะนำ ข้าวหมูแดง, ข้าวหมูรอบ, ข้าวหน้าเป็ด, ข้าวมันไก่


2. ร้าน หมูสะเตะ,เนื้อสะเตะ

เวลาเปิด-ปิด ทุกวัน 08:30 - 16:00 น.

เมนูแนะนำ หมูสะเตะ,เนื้อสะเตะ



3. ร้าน ก๋วยเตี๋ยวเรืออยุธยา (เจ๊จุ๋ม)

เวลาเปิด-ปิด ทุกวัน 9:30 - 18:00 น.

เมนูแนะนำ ก๋วยเตี๋ยวเรือหมู, กากหมูทอด, ก๋วยเตี๋ยวเรือ 
4. ร้าน ผลไม้ดองนายสุง

เวลาเปิด-ปิด อังคาร – อาทิตย์ 09:30 - 17:00 น.

เมนูแนะนำ มะม่วง, ฝรั่งแช่บ๊วย, สัปปะรด และอีกหลากหลายเมนู


5. ร้าน ไก่ย่างน้ำผึ้ง ศรีวิชัย

เวลาเปิด-ปิด ทุกวัน 08:30 - 19:00 น.

เมนูแนะนำ ไก่ย่างเนื้อนุ่ม


6.ก๋วยเตี๋ยวตำลึง ข้าวแกง นายอ้วน

เวลาเปิด-ปิด ทุกวัน 07:00 - 16:00 น.

เมนูแนะนำก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำ, บะหมี่แห้งยำ และข้าวแกง


7. ร้าน โจ๊กบางขุนนนท์

เวลาเปิด-ปิด ทุกวัน 05:00 - 10:30 น.

เมนูแนะนำ โจ๊กหมูข้าวหอมและข้าวกล้อง



8. ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา นายเงี๊ยบ

เวลาเปิด-ปิด ทุกวัน 9:00 - 18:00 น.

เมนูแนะนำ ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา, เส้นหมี่ขาวแห้ง


วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562

แขวงอรุณอัมรินทร์

          แขวงอรุณอมรินทร์ เป็นแขวงแขวงหนึ่งในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นย่านการค้าและเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางถึงหนาแน่นมาก ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร  พ.ศ. 2556 ได้กำหนดให้พื้นที่บางแห่งในแขวงนี้เป็นพื้นที่อนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

            ที่ตั้งและอาณาเขต
แขวงอรุณอมรินทร์ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขตบางกอกน้อย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงบางพลัดและแขวงบางบำหรุ (เขตบางพลัด) มีถนนบรมราชชนนีเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบางยี่ขัน (เขตบางพลัด) มีถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงพระบรมมหาราชวัง (เขตพระนคร) และแขวงศิริราช มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางขุนนนท์ แขวงคลองชักพระ และแขวงตลิ่งชัน (เขตตลิ่งชัน) มีคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต




แขวงบางขุนนนท์

             แขวงบางขุนนนท์ เป็นทางแยกบริเวณจุดบรรจบระหว่างถนนจรัญสนิทวงศ์กับถนนบางขุนนนท์ ในพื้นที่แขวงบางขุนนนท์ และแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ใกล้กับเชิงสะพานข้ามคลองบางกอกน้อยและจุดตัดทางรถไฟบริเวณป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างถนนสุทธาวาสกับถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ (ตลิ่งชัน)
            จุดบรรจบของถนนจรัญสนิทวงศ์ ขนาด 6 ช่องจราจร (มีเกาะกลาง) ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้, ถนนบางขุนนนท์ ขนาด 4 ช่องจราจร (ไม่มีเกาะกลาง) ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังมีซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 (วัดสุวรรณาราม) ขนาด 2 ช่องจราจร (ไม่มีเกาะกลาง) แยกออกไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย จึงอาจถือว่าทางแยกบางขุนนนท์เป็นสี่แยก แต่ทางการไม่ถือว่าซอยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของทางแยกนี้ เนื่องจากทางแยกนี้มีสัญญาณไฟจราจรหลักเพียง 3 ด้าน




แขวงบางขุนศรี

แขวงศิราราช

           แขวงศิริราช เป็นแขวงหนึ่งใน 180 แขวงของกรุงเทพมหานคร โดยเป็น 1 ใน 5 แขวงในเขตบางกอกน้อย จัดเป็นแขวงที่มีพื้นที่น้อยที่สุด คือ 1.258 ตร.กม. และมีจำนวนประชากร 17,022 คน (ธันวาคม พ.ศ. 2560) มีเนื้อที่ตั้งแต่บริเวณรอบ ๆ โรงพยาบาลศิริราชครอบคลุมไปจนถึงฝั่งซ้ายของถนนวังหลังตั้งแต่บริเวณคลองบ้านขมิ้น และสองฝั่งถนนอรุณอมรินทร์ไปจนถึงสะพานอรุณอมรินทร์ที่ข้ามคลองบางกอกน้อย ซึ่งเป็นเขตติดติดกับแขวงอรุณอมรินทร์ ในเขตบางกอกน้อย และอีกฝั่งของถนนผ่านแยกบ้านขมิ้นไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานข้ามคลองมอญอันเป็นเขตติดต่อกับแขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่





แขวงบ้านช่างหล่อ

ประวัติความเป็นมา
           บ้านช่างหล่อ ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานข้ามคลองบ้านขมิ้น-คลองคู เมืองสมัยธนบุรี บนถนนพรานนก   เขตบางกอกน้อย ซอยวัดวิเศษการและซอยพัฒนาช่าง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการเป็นแหล่งรวมช่างฝีมือสำหนับการหล่อประติมากรรม
ความเป็นมาของบ้านช่างหล่อเล่ากันมาว่าบรรพบุรุษเป็นชางกรุงศรีอยุธยา มีอาชีพช่างหล่อมาแต่เดิม เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าจึงได้ย้ายเมืองหลวงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณริมด้านนอกคลองคูเมืองธนบุรีดังกล่าว (เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชกอบกู้เอกราชให้กับชาวไทยแล้วจึงอพยพผู้คนและช่างฝีมือต่าง ๆ ที่เรียกว่าช่างสิบหมู่ มายังกรุงธนบุรีและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยาที่ถูกเผาทำลายไม่สามารถบูรณะให้กลับคืนมาอยู่ในสภาพเดิมได้ ) ช่างฝีมือต่าง ๆ เหล่านี้ได้ตั้งบ้านเรือนและประกอบอาชีพของตนตามสถานที่ต่าง ๆ ดังปรากฏชื่อในปัจจุบัน เช่น บ้านบุ บ้านบาตร บ้านช่างเหล็กและบ้านช่างหล่อ เป็นต้น เดิมชุมชนบ้านช่างหล่อเป็นที่ตั้งของโรงหล่อหลายแห่ง โรงหล่อเหล่านี้เป็นเมืองศูนย์กลางของบ้านช่างที่ตั้งอยู่รายรอบเป็นกลุ่มใหญ่ เพราะการหล่อประติมากรรมต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากช่างจำนวนมาก เช่น ช่างปั้น ช่างเททอง ช่างลงรักปิดทอง เป็นต้น โดยเฉพาะงานประติมากรรมที่สำคัญนั่นคือ การหล่อพระพุทธรูป การหล่อพระพุทธรูปจะแบ่งออกเป็นการหล่อพระใหญ่และพระเล็ก พระใหญ่หมายถึงพระที่มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณศอกคืบ ( วัดด้วยมือ ) หรือ 30 นิ้ว ขึ้นไป เล็กจากนี้ลงมาจะเป็นพระเล็ก
งานหล่อพระเป็นอาชีพที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านช่างหล่อ ที่ทำสืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เป็นงานศิลปะที่ละเอียดซับซ้อนและมีเทคนิควิธีการหลายขั้นตอน แรงงานที่ใช้ในการหล่อพระส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัวและคนในชุมชน ในสมัยก่อนจะประกอบอาชีพหล่อพระกับแทบทุกครัวเรือน พระที่หล่อมีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็กและมีหลากหลายปาง ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างต้องการอย่างไร โลหะที่ใช้มีทั้งทองคำและทองเหลือง





วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562

ประวัติความเป็นมา(บางกอกน้อย)

👉          เขตบางกอกน้อยเดิมมีชื่อเรียกว่า อำเภออมรินทร์ เป็นอำเภอที่ 21 ใน 25 อำเภอชั้นในของพระนครตามประกาศกระทรวงนครบาลในปี พ.ศ.2458 จากนั้นในปีพ.ศ.2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่ออำเภออมรินทร์เป็นอำเภอบางกอกน้อย (พร้อมกับเปลี่ยนชื่ออำเภอหงสารามเป็นอำเภอบางกอกใหญ่ เปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็นอำเภอบางยี่เรือ และเปลี่ยนชื่ออำเภอบุปผารามเป็นอำเภอคลองสาน) เนื่องจากชื่อเดิมยังไม่เหมาะสมกับตำบลที่ตั้งอันเป็นหลักฐานโบราณ ในขณะนั้นอำเภอบางกอกน้อยมีเขตปกครอง 8 ตำบล คือ ตำบลบางอ้อ ตำบลบางพลัด ตำบลบางบำหรุ ตำบลบางยี่ขัน ตำบลบางขุนนนท์ ตำบลบางขุนศรี ตำบลศิริราช และตำบลบ้านช่างหล่อ

          ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2515ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ยกเลิกหน่วยการปกครองจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ในเขตจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นหน่วยการปกครองเดียว คือ "กรุงเทพมหานคร" ซึ่งได้เปลี่ยนคำว่าอำเภอเป็น "เขต" และตำบลเป็น "แขวง" ดังนั้น อำเภอบางกอกน้อยจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อย โดยแบ่งพื้นที่แขวงบางพลัด แขวงบางอ้อ แขวงบางยี่ขัน และแขวงบางบำหรุ ไปจัดตั้งเป็นเขตบางพลัด เพื่อให้หน่วยงานราชการดูแลปกครองพื้นที่ได้สะดวกขึ้น และได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2534 ตัดพื้นที่เขตบางพลัดเฉพาะฝั่งใต้ถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้ากลับมาเป็นพื้นที่ของเขตบางกอกน้อย และได้รับการจัดตั้งเป็นแขวงอรุณอมรินทร์