ข้าวเม่าหมี่ของดีชุมชนตรอกข้าวเม่า
วิถีชีวิตชาวบ้านข้าวเม่า
ชุมชนตรอกข้าวเม่าหรือบ้านข้าวเม่าถือเป็นชุมชนดั้งเดิม ซึ่งเป็นกลุ่มชาวมอญอพยพมาจากอยุธยาตั้งรกรากตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีและได้นำการทำข้าวเม่าหมี่มาเป็นอาชีพหลัก เพราะในย่านนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีบรรดาศักดิ์ข้าหลวงเดิมเพราะมีบ้านเรือนอยู่ใกล้พระราชวังเดิมในอดีตสภาพชุมชนเป็นสวนผลไม้นานาชนิด เช่น ละมุด มังคุด มะม่วง และทุเรียน การคมนาคมใช้ทางน้ำเป็นหลัก สามารถพายเรือจากเส้นทางคลองบางกอกน้อยไปคลองบางขุนศรี ออกคลองบ้านขมิ้นได้เดินทางไปวัดยางสุทธาราม วัดดงมูลเหล็ก วัดอัมพวาในด้านการค้าขายก็นิยมนำผลไม้ไปขายที่ตลาดท่าเตียนหรือบ้างก็หาบไปข้ามเรือที่ท่าหวังหลังหรือท่ายายโกย ชุมชนแห่งนี้เกือบทุกหลังคาเรือนจะตำข้าวเม่าโดยมีข้าวเปลือกมาจากจังหวัดสุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง ชัยนาท และนครชัยศรี จะนำข้าวเปลือกมาทางเรือ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของชุมชนแห่งนี้จึงเรียกกันว่า ” บ้านข้าวเม่า “ ภายหลังบ้านเมืองเจริญขึ้นมีการตัดถนนพรานนก ถนนอิสรภาพ การคมนาคมทางน้ำจึงลดบทบาทลง การตำข้าวเม่าซึ่งต้องอาศัยน้ำคลองเป็นหลักในการแช่ข้าว ล้างข้าวและวิธีการยุ่งยากในปัจจุบันจึงค่อยๆหมดไปจะเป็นการนำข้าวเม่าสำเร็จรูปมาทำแทน
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่า
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ในวัดสุทธาวาส ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๕๔ โดยความร่วมมือของเจ้าอาวาสวัดสุทธาวาส ประชาคมตรอกข้าวเม่าและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ที่เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของย่านนี้ จึงได้ร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่เก็บของบริเวณชั้นล่างของศาลาการเปรียญให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมเรื่องราวและสิ่งของภายในท้องถิ่นจัดแสดงเป็นนิทรรศการ โดยการเชื่อมโยงกับข้อมูลประวัติศาสตร์มรดกทางวัฒนธรรมที่รวมทั้งแหล่งภูมิปัญญา วัฒนธรรมการทำอาหาร งานช่างฝีมือและเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหลากหลายมิติที่ถูกผนวกไว้ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้และจะมีการสาธิตข้าวเม่าหมี่ในช่วงเทศกาลที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ด้วย
การออกแบบผลิตภัณฑ์และโลโก้ให้กับชุมชนตรอกข้าวเม่า
ชุมชนตรอกข้าวเม่า เขตบางกอกน้อย แขวงศิริราช กรุงเทพมหานคร มีผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้แก่ชุมชน คือ ผลิตภัณฑ์ข้าวเม่า ซึ่งผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าต้องมีเป็นสินค้าของุมชนดังนั้นจึงต้องมีโลโก้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าในชุมชนประเภทนี้ คืออะไร สามารเถทำให้ผู้บริโภคเข้าใจ และสินค้าเกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ในส่วนของโลโก้ ผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าแบบเดิม นักศึกษาได้มีการออกแบบโลโก้ที่ มีจุดเด่นมากกว่าเดิน คือ การออกแบบโลโก้ให้มีความน่าสนใจและชัดเจนยิ่งขึ้น คือการเพิ่ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ชัดเจน สามารถติดต่อกับผู้ผลิตสินค้าได้โดยตรงและนักศึกษายังสามมารถออกแบบช่องทางการติดต่อจากจุดเด่นเดิม โดยใช้วิธีการเพิ่มคิวอาร์โค้ด ให้สามารถติดต่อกับผู้ผลิตสินค้าได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งการเพิ่มช่องทางในการติดต่อสินค้า และเกิดความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น